นกดำ CBR1100 Blackbird



ด้วยเหตุ ว่าในช่วงยุค 90 ฮอนด้าได้ชื่อว่าทำรถออกมาสู้ใครเค้าไม่ได้เลย น้ำหนักมาก อัตราเร่งแย่ ความเร็วปลายต่ำ ฯลฯ แพ้ไปซะหมดทุกเรื่อง ก็เลยต้องโละโปรเจคท์เก่าๆทิ้งให้หมด มีแต่รถใหม่ที่ใหม่จริงๆเท่านั้นถึงจะครองความเป็นหนึ่งได้ ไหนๆจะทำออกมาทั้งทีมันต้องให้สุดลิ่มทิ่มประตูไปเลย(ยืมสำนวนท่านยาขอบ หน่อย) ข่าวลือแรกๆที่ออกมาบอกว่ามันจะมีน้ำหนักตัว 230 กก. กำลัง 135 แรงม้า แต่ฮอนด้าจะทำได้แค่นั้นเองหรือ

นกดำ  Honda CBR1100  Blackbird



              และแล้วก็ร่างแผนงานขึ้นมา คราวนี้ตั้งเป้าจะทำสิ่งที่ฮอนด้าไม่เคยทำมาก่อน นั่นคือรถโปรดักชั่นที่เร็วที่สุดในโลก หลังจากนั้นการวางธีมหลักของรูปทรงก็หลากหลาย ถกเถียงกันอยู่นาน มีการเสนอมาตั้งแต่โลมา เสือชีต้าร์ นกทะเล แต่สุดท้ายมันมาจบลงด้วยคอนเซปท์ของสิ่งที่เร็วที่สุดในโลก SR71 Super Blackbird เครื่องบินตรวจการณ์ในยุคสงครามเย็น เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่เร็วที่สุดในโลกรถ ที่ต้องการจะต้องใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ให้กำลังสูงตั้งแต่รอบต่ำ เดินทางไกลได้อย่างสะดวกสบาย ขนาดตัวรถเหมาะสม และจุสำคัญคืออากาศพลศาสตร์ชั้นยอดโดยทิ้งค่านิยมแบบเก่าๆไปทั้งหมด โดยสมรรถนะและความสะดวกสบายต้องไปด้วยกัน สามารถใช้ความเร็วเดินทางได้ที่รอบกลางๆซึ่งให้กำลังสูงและสามารถเร่งแซงได้ ทันใจ ความปลอดภัยด้วยระบบเบรคชั้นยอดอย่างที่เคยใส่มากับ CBR1000F รุ่นก่อน และระบบไฟส่องสว่างที่สร้างความปลอดภัยในการเดินทางทุกสภาพอากาศ
เมื่อตีโจทย์แตก ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ CBR1100XX Super Blackbird
มันเปิดตัวในช่วงปลายปี 96 ก็เลยนับเป็นโมเดลของปี 97
นับ ตั้งแต่แฟริ่งที่ออกแบบมาด้วยเทคโนโลยีใหม่และรูปทรงในสไตล์ใหม่ ผ่านการทดสอบในอุโมงค์ลมมาจนสามารถสร้างรถระดับ Open Class ที่มีพื้นที่หน้าตัดรวมเล็กยิ่งกว่าสปอร์ทรุ่นเล็กอย่าง NSR250 ซะอีก ถึงแม้จะเป็นรถขนาดใหญ่แต่จะเห็นได้ชัดว่าหน้ารถแหลมและยื่นยาวเพื่อการ แหวกลมไปได้โดยไม่เสียกำลัง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง จึงเลือกที่จะใช้บังลมขนาดใหญ่ กว้าง และสูง เพื่อทัศนวิสัยที่ดี ท่อรับอากาศด้านหน้าของแฟริ่งจะรับลมเย็นไปปล่อยใส่ออยล์คูลเลอร์ที่แผงคอ
ไฟ หน้าคู่แยกไฟสูงและไฟต่ำโดยซ้อนกันเป็นสองชั้น ทำให้ออกแบบหน้ารถให้แหลมและแคบได้มากกว่า สามารถส่องสว่างได้มากอย่างนึกไม่ถึงเลย  หลอดไฟเป็นแบบไส้เดียว H7 55W แล้วก็รู้สึกจะเป็นรถโปรดักชั่นรุ่นแรกที่เอาไฟเลี้ยวมาไว้ที่กระจกมองข้าง มองเห็นได้ชัดเจนกว่าและกลายเป็นค่านิยมของรถรุ่นใหม่ๆไปแล้ว ไฟท้ายสองชั้นดวงใหญ่ สว่าง ปลอดภัยถ้าคนตามหลังตาไม่ถั่ว ท่อไอเสียแบบ 4-2-1-2 พร้อมแคต เสียงเงียบจนน่ากลัว
กรองอากาศขนาดใหญ่ ปริมาตรสูงถึง 9.5 ลิตร พอให้เครื่องยนต์ 1137 ซีซีสูบเอาไปใช้
คาร์บูแบบ CV ขนาด 42 มม.สี่ลูกพร้อมระบบ Throttle Position Sensor
และเซนเซอร์อื่นๆช่วยกันส่งข้อมูลให้ระบบจุดระเบิด 3D Mapping ทำงานได้แม่นยำ ประหยัด และให้กำลังสูงทุกๆย่านความเร็ว
ชอคอับหน้า 43 มม. และระบบเบรค LBS (Linked Braking System) ช่วยเสริมความปลอดภัย
โดยใช้คาร์ลิเปอร์แบบสามลูกสูบทั้งหน้าและหลัง
เมื่อกดเบรคหน้า เบรคจะทำงานที่ที่คาร์ลิเปอร์หน้าตัวละ2 ลูกสูบและคาร์ลิเปอร์หลังทำงาน 1 ลูกสูบ
เมื่อเหยียบเบรคหลัง เบรคหลังจะทำงาน 2 ลูกสูบและเบรคหน้ข้างละ 1 ลูกสูบ
ช่วยให้การควบคุมน้ำหนักเบรคทำได้ง่ายกว่า
และยังมีตัววัดการยุบของชอคอับหน้า ถ้าไม่มีการยุบตัวแสดงว่าเบรคโดยรถไม่เคลื่อนที่
เมื่อบีบเบรคหน้า จะทำงานเฉพาะข้างหน้าอย่างเดียว ไม่ลิงค์ไปถึงเบรคหลัง
เอาไว้เผายางเล่นได้ไม่กินกำลังไม่เปลืองผ้าเบรค
ช่วงล่างด้านหลังเป็นชอคเดี่ยวแบบ Pro-Link วงล้อ 5.5 นิ้วและยางขนาด 180/55-ZR17
สวิงอาร์มแบบ Triple-Box-Section ขนาด 40 x 90 มม.
เฟรมแบบ Dual Spar เป็นอลูมินั่มอัลลอยด์ขึ้นรูปให้มีรอยต่อน้อยที่สุด
เครื่องยนต์ 1137 ซีซี DOHC 16 วาล์ว ที่ให้กำลังสูงสุดถึง 164 แรงม้าบนน้ำหนักตัว 223 กก.
เดินเรียบนุ่มนวลโดยไม่ต้องใช้ยางแท่นเครื่องให้เป็นจุดอ่อนของรถด้วยการใส่เพลาบาลานซ์เซอร์คู่ เป็นสปอร์ทรุ่นแรกของโลกที่ใช้วิธีนี้
เครื่องยนต์ใหม่นี้มีความจุกระบอกสูบใากกว่า CBR1000F ถึง 140 ซีซี แต่มีขนาดภายนอกเล็กกว่าด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุแบบใหม่
น้ำหนักเบากว่าเครื่องเดิมถึง 10 กก. สามารถจะจัดวางให้มีการกระจายน้ำหนักสมดุลย์กว่าเดิม ทำให้ควบคุมง่าย
คลัทช์ไฮดรอลิคช่วยผ่อนแรงส่งกำลังไปยังแผ่นคลัทช์มัลติเพลทขนาด 150 มม.
ฝาครอบคลัทช์ใช้ปะเก็นยางหนาช่วยเก็บเสียงดังจากภายในเครื่องยนต์ได้อีกมาก
หม้อ น้ำอลูมิเนียมขนาดใหญ่กับพัดลมไฟฟ้าพร้อมออยล์คูลเลอร์ใต้แผงคอ ระบายความร้อนได้ดีเมื่อเดินทางไกล
ถังน้ำมันขนาดใหญ่ ความจุถึง 22 ลิตรพร้อมมาตรวัดระดับและไฟเตือนน้ำมัน
หลังจากที่ขายอยู่ได้สองปี ก็ถึงคราวปรับกระบวนเพราะกระแสข่าวแว่วมาว่าซูซูกิจะออกสปอร์ตัวใหม่ที่เจ๋งพอๆกัน
ฮอนด้าก็เลยเขยิบหนีไปเล่นกับหัวฉีด PGM-FI
ในปี 1999 นี้จะถือว่าปรับใหญ่ก็ได้เพราะยกหัวฉีดมาใส่แทนที่คาร์บูเดิม และความที่เรือนหัวฉีดขนาดมันเล็กกว่าคาร์บู
ก็เลยมีพื้นที่พอให้เพิ่มขนาดถังน้ำมันจาก 22 ลิตรเป็น 24 ลิตร  ย้ายออยล์คูลเลอร์ลงมาไว้เหนือหม้อน้ำ ทำให้รับลมได้โดยตรง
ท่อลมที่เคยเป่าออยล์คูลเลอร์ก็เปลี่ยนรูปแบบซะ ทำให้มันกลายเป็นแรมแอร์ เสริมพลังที่ความเร็วสูง แต่ตันเร็วชะมัดเลย
วิ่งออกตจว.กลับมาต้องโกยแมลงออกจากกรอง  ทำสีเฟรมเป็นสีดำ ให้ดูเข้ม
บนแผงหน้าปัดเปลี่ยนจากไฟเตือนขาตั้งมาเป็นไฟเช็คระบบหัวฉีดแทน
ชุดหัวฉีดระบบคอมมอนเรลที่มาแทนคาร์บูของเก่า
ออยล์คูลเลอร์ย้ายมาอยู่เหนือหม้อน้ำ ไม่ต้องอาศัยลมจากท่อหน้ารถแล้ว ก็เลยใช้เป็นท่อแรมแอร์ซะ
ดูภายนอกจะเห็นว่าซี่ตะแกรงในท่อลมก็เปลี่ยนไป
นอกนั้นเหมือนเดิมหมด
น่าแปลกที่ภายนอกทุกอย่างไม่มีการเปลี่ยน แม้แต่สี+ลาย และไม่มีปัญหารีคอลเหมือนค่ายอื่น
เป็นรถที่เปิดตัวออกมาก็สมบูรณ์แบบทันที ยอดมากเลย
รุ่นหัวฉีดจะแปะตรา PGM-FI เอาไว้ที่ท่อนหางทั้งสองข้าง


ปี 2001 โดนตอนความเร็วเหมือนคนอื่นเค้า เรือนไมล์ก็เปลี่ยนซะเป็นดิจิตอลจอใหญ่แทนที่
แผ่นบังลมสูงขึ้นอีก 3 ซม.และชันกว่าเดิม
ไฟเลี้ยวทรงยาวรี เป็นแบบมัลติรีเฟลคเตอร์ สว่างกว่าเดิมด้วย
ถ้าใครจะเปลี่ยนท่อ ให้ระวังออกซิเจนเซนเซอร์ด้วย ขาดหายหรือพังไปเครื่องจะรวน
กุญแจอิมโมบิไลเซอร์ที่ฮอนด้าเรียกว่า H.I.S.S. ปั๊มเองไม่ได้ ห้ามทำหายเด็ดขาด
หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไรใหม่ ยังขายได้เรื่อยๆโดยเฉพาะแถบยุโรป
ในฐานะรถสปอร์ททัวริงที่ยอดเยี่ยม ไฟหน้าสว่างไสวเหมาะกับอากาศขมุกขมัวในยุโรป



ที่มา http://jobsbkk.jobthaiparttime.com